วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความจริงของชีวิต


"ความจริงของชีวิตในทัศนคติแต่ล่ะศาสนา"


  สาระของชีวิตตามแนวศาสนธรรม
ตามหลักศาสนธรรม ถือว่าชีวิตมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ เป็นชีวิตที่
สามารถพัฒนาได้มากกว่าชีวิตอื่น ๆ มนุษย์มีความจำ สติปัญญาและวัฒนธรรม มนุษย์เป็นอิสระในการ
คิดและการกระทำ สามารถเลือกเส้นทางเดินของชีวิตและเป้าหมายชีวิตของตนเองได้ และมนุษย์มี
ศรัทธาใฝ่หาความดีและความสุขเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้น ในหลักศาสนธรรมจึงได้กล่าวถึงชีวิตมนุษย์
ตั้งแต่ความหมาย กำเนิด องค์ประกอบ ความมุ่งหมาย คุณค่า เป้าหมาย และการดำ เนินชีวิตตามหลักศา
สนธรรมเพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความเป็นจริงและความดีสูงสุดเป็นชีวิตที่มีสันติสุข รวมทั้งสังคมที่มีสันติภาพ

 สาระของชีวิตตามแนวพุทธธรรม
พุทธธรรมเป็นศาสนธรรมของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ใช้ปัญญาเป็นประทีปส่องทาง
ของชีวิต ผู้ที่ขาดปัญญานำ ทางชีวิตเสมือนดังคนตาบอดเหยียบลงกองไฟที่เขาจุดไว้ส่อง พุทธธรรมสอน
ให้มนุษย์หันกลับมามองตนเองที่ยาววาหนาคืบ ประกอบด้วยเบญจขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ซึ่งตกอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชีวิตของมนุษย์จึง
เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนตนเองและก็สามารถฝึกฝนให้ดีได้ตามหลักไตรสิกขา 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และ
ปัญญา เพื่อชีวิตที่มีอิสระจากโลภะ โทสะ และโมหะ มีความผาสุกอย่างแท้จริง
ชีวิตคืออะไร
ชีวิต คือ ธรรมชาติรูปแบบหนึ่งที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น (อุปปาทะ)
ตั้งอยู  (ฐิติและดับไป (ภังคะหรือเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง (อนิจจังมีความพร่อง
(ทุกขังและไร้ตัวตนที่ถาวร (อนัตตา)
ชีวิต คือ ปัญหา (ทุกขัง)
ชีวิต คือ ขันธ์ 5 ตามหลักพุทธธรรม ที่เป็นผลรวมขององค์ประกอบ 5 ตัว หรือสิ่งของ
ตัว หรือ สิ่งของ 5 อย่าง มารวมตัวกันเข้า เรียกตามภาษาธรรมะว่า ขันธ์ 5 (The Five Aggregates)

สังขารขันธ์แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
(1) ปุญญาภิสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งจิตดี หรือเป็นกุศล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คิดดี
(2) อปุญญาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตชั่ว หรือเป็นอกุศล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คิดชั่ว
(3) อเนญชาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตไม่ดีไม่ชั่ว หรือเป็นอัพยากฤตหรือกล่าว
อีกนัยหนึ่งคือ คิดไม่ดีไม่ชั่ว__
                วิญญาณขันธ์ (Consciousness) คือ กองแห่งความรู้ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ
ที่มากระทบเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับอายตนะภายนอก คือ อารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่ รูป เสียง
กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และมโนภาพ หรือ ธัมมารมณ์ ก็จะเกิดความรู้ขึ้น เช่น เมื่อตากระทบกับรูป โดยมี
แสงสว่างเป็นสื่อกลางก็จะเป็นความรู้ทางตา ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณขึ้น
(1) ตา เห็นรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้ทางตา)
(2) หู ได้ยินเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้ทางหู)
(3) จมูกได้กลิ่น เกิด ฆาณวิญญาณ (ความรู้ทางหู)
(4) ลิ้น ลิ้มรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้ทางลิ้น)
(5) กาย สัมผัสกับสิ่งสัมผัส เกิด กายวิญญาณ (ความรู้ทางกาย)
(6) ใจคิดถึง ธัมมารมณ์ (มโนภาพเกิด มโนวิญญาณ (ความรู้ทางใจ)

ปฏิสนธิจิต จิตที่เกิดในขณะแรกที่ปฏิสนธิ เป็นจิตที่สืบมาจากจุติจิต
ภวังค์จิต จิตที่เกิดในขณะแรกที่ปฏิสนธิ เป็นจิตที่สืบมาจากจุติจิต
ภวังคจิต คือ จิตที่เป็นรากฐานของชีวิต เป็นจิตที่จะใช้ดำ รงชีวิตอยู่ทำ หน้าที่ควบคุม

อวัยวะภายใน และควบคุมการทำ งานภายในระบบของเซลล์ เมื่อมีอวัยวะเกิดขึ้นและทำ หน้าที่แล้วจึงจะ
มีวิถีจิต หรือวิญญาณเกิดขึ้น
ขันธ์ 5 เมื่อกล่าวโดยย่อ ได้แก่ รูปและนาม หรือรูปธรรม และนามธรรม รูปขันธ์จัดเป็น
รูปธรรม ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จัดเป็นนามธรรม

แผนภูมิที่ 1 และแผนภูมิ ที่ 2 ซึ่งแสดงการเชื่อมโยงกระบวนการของชีวิต




 คนแต่ละคนแยกส่วนประกอบออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
(1) ส่วนรูปได้แก่ ร่างกายซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ เป็นต้น
(2) ส่วนนาม ได้แก่ จิตใจ ซึ่งเป็นนามธรรม คือ สิ่งที่ไม่สามารถจับต้องมองเห็นได้ แต่
สังเกตได้ด้วยการแสดงพฤติกรรม หรือรู้โดยอาการที่เกิดขึ้น
กระบวนการของชีวิต
ชีวิตมนุษย์ย่อมเป็นไปตามกระบวนการเกิดของเบญจขันธ์ และเป็นไปตามกฎธรรม
ชาติ ได้แก่ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท และกฎแห่งกรรม การที่จิตหรือวิญญาณ ซึ่งเป็นตัวรู้จะไปรับรู้
อารมณ์ภายนอกทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะ (การสัมผัสและสามารถแสดงปฏิกิริยา
สนองตอบได้นั้น จิตจะต้องอาศัยประสาทสัมผัสภายในทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นสื่อไปรับรู้อารมณ์ภายนอกดังกล่าว อารมณ์ภายนอกและประสาทสัมผัสภายในรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกาย จึง
เห็นได้ว่า จิตจะต้องอาศัยกายเป็นที่แสดงออก
 อุปมาของชีวิต
นิยามความหมายของชีวิต ผู้รู้ได้กล่าวไว้ในเชิงเปรียบเทียบไว้หลายประการ แต่จะขอ
นำ มากล่าวไว้ ณ ที่นี้พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1. ชีวิต คือ หม้อดิน เพราะชีวิตแตกสลายได้ง่าย ความตายเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกขณะ
เห็นหน้าอยู่เมื่อเช้า สายตาย สายอยู่สบาย บ่ายม้วย ฯลฯ มนุษย์จึงต้องไม่ประมาท ระมัดระวังรักษาชีวิต
ไว้ให้ได้
2. ชีวิตเหมือนโคที่เขาจูงไปสู่ที่ฆ่า โคยิ่งเดินเท่าไรก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกขณะ มีชีวิต
อยู่แต่ล่ะวันแต่ละคืน วันคืนผ่านไป ชีวิตมนุษย์ก็ใกล้จะตายทุกขณะ
3. ชีวิตคือการต่อสู้ ชีวิตมนุษย์ต้องต่อสู้ความทุกข์ ความลำ บากมากมาย เช่น หนาว
ร้อน กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนชีพสลาย
4. ชีวิตคือการเดินทางไกลอันยาวนาน เพราะชีวิตต้องเดินทางมุ่งไปหาความสุขที่แท้
ความสุขชั่วนิรันดร์ต้องใช้เวลายาวนาน หลายภพหลายชาตินับไม่ถ้วนจึงจะพบความสุขที่แสวงหา
5. ชีวิตคือละคร ชีวิตแต่ละคนก็เล่นไปตามบทบาทของคน ชีวิตเหมือนฉากละครที่ผ่าน
ไปเป็นฉาก ๆ เมื่อจบฉากแล้วก็จบสิ้นเชิงหน้าที่และบทบาท ต้องโบกมืออำ ลาโรง ลงมาดูเวทีอันว่าง
เปล่าหรือดูผู้อื่นเล่นบทเวทีชีวิตต่อไป
6. ชีวิตคือการวิ่งไล่คว้าเงา หลายครั้งที่มนุษย์วิ่งไล่เงาของตัวเอง สร้างอนาคตไว้อย่าง
สวยหรูและก็วิ่งไล่สิ่งที่คาดหวังอย่างเอาเป็นเอาตาย เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปตลอดชีพ เมื่อคว้าตะครุบได้
ก็เป็นเพียงเงาๆ ที่หาแก่นแท้สาระไม่ได้เลย
7. ชีวิตคือฤดูกาล ฤดูกาลมีร้อนมีหนาวมีฝน ชีวิตก็เฉกเช่นนั้น เพราะชีวิตมีความทุกข์
ความสุข ความสมหวัง ผิดหวัง มีได้มีเสีย ผสมปนเป ชีวิตมิได้มีแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชีวิตมีหลายสิ่ง
หลายอย่างเพื่อทำ ให้ชีวิตสมบูรณ์ ถ้าฤดูกาลมีเพียงฤดูฝนอันเย็นฉํ่าเพียงฤดูเดียว คงไม่เพียงพอที่จะทำ ให้
พืชธัญญาหารผลิตออกผลฉันใด ชีวิตมนุษย์ก็ฉันนั้น
8. ชีวิตคือนักมวย มนุษย์ถูกธรรมชาติกำหนดให้ขึ้นชกบนสังเวียนแห่งชีวิต คู่ต่อสู้คือ
กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มนุษย์มีทางเลือกอยู่สองทางคือ น็อคคู่ต่อสู้ หรือ ถูกคู่ต่อสู้น็อค ทางรอดของ
มนุษย์ มีอยู่ทางเดียว คือทำ ใจให้เข้มเข็ง ขจัดความกลัวออกไป ขยันอดทน ฝึกหัดกายวาจาใจ ต่อสู้อย่างมี
สติปัญญา จึงจะสามารถชนะคู่ต่อสู้คือกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ได้ในที่สุด และจะเป็น ผู้ชนะอย่างแท้จริง


 สาระของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์
คริสตธรรมเป็นคำ สอนขององค์ศาสดาผู้อุทิศตนไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ สอนให้มนุษย์ได้
ประจักษ์ว่าชีวิตได้มาจากพระเจ้า พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้เป็นฉายาเงาของพระองค์ผู้มีความรักมนุษย์อย่าง
แท้จริง ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีความรัก ความภักดีต่อพระเจ้า และมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ชาว
คริสต์ต้องดำ เนินชีวิตในกรอบของบัญญัติ 10 ประการ เพื่อเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าอันเป็นแดนที่มี
ความสุขสงบตลอดกาล
ศาสนาคริสต์ (Christianity) มีพระเยซูคริสต์เป็นศาสดา อุบัติขึ้นเมื่อ พ.. 543 เป็น
ศาสนาที่สืบต่อมาจากศาสนายูดายของชนชาติยิว พระเยซู คือผู้มาฟื้นศาสนาใหม่ตามคำ ทำ นายใน
ศาสนาเดิมว่าจะมีเมสสิอาห์ (Messiah) มาอุบัติขึ้นเพื่อนำชาวยิวไปสู่ความอยู่รอด ให้พ้นจากความทุกข์
ยากและเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้า
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาใหญ่ศาสนาหนึ่งมีคนนับถือมากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ทวีปยุโรปและอเมริกา ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีคริสตศาสนิกชนในประเทศไทยมากเป็นลำ ดับที่ 3 รองลงมาจากพุทธศาสนิกชน
และอิสลามิกชนตามลำดับ
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้มนุษย์ปลูกฝังความรักความเมตตาในตน
โดยมีพระเยซู องค์ศาสดาทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวกันว่า คำ สั่งสอนของพระเยซู คือ
ปรัชญาแห่งความรัก คือเริ่มต้นจากการรักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้าน และรักมิตรสหายของตน
เหมือนกับตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ปรัชญาแห่งคำ สอนที่สำคัญของพระเยซูอีกประการหนึ่ง คือการให้อภัย
แม้ขณะที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ก็ทรงขอให้พระเจ้าทรงประทานอภัยให้แก่คน
บาปที่ได้ทำ ร้ายพระองค์”
มนุษย์คือผู้ที่พระเจ้าสร้าง
ในหลักคำ สอนของคริสตศาสนาได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า ถ้าพระเจ้าทรงติดต่อกับ
มนุษย์ได้ มนุษย์ย่อมสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน การติดต่อนี้เป็นการติดต่อระหว่างผู้ที่ถูก
สร้างกับพระผู้สร้างมนุษย์เป็นผู้ถูกสร้างพิเศษเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น การที่มนุษย์สามารถติดต่อกับพระ
เจ้าได้นั้น ถือว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์
ศาสนาคริสต์ ถือว่าสรรพสิ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นปฏิมา
กรรมชิ้นเอกที่พระเจ้าทรงประทานบนโลก มนุษย์คู่แรกคือ อาดัม (Adam) และอีฟ (Eve) เป็นบรรพบุรุษ
คู่แรก ดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า “พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของ
เราให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไปและสัตว์ต่างๆ ที่
เลื้อยคลานบนแผ่นดิน พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของ
พระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง 




สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม เกิดขึ้นในทวีปเอเชียแถบตะวันออกกลาง ดินแดนแห่งชนชาวอาหรับ
เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมาจำนวน 1 ใน 3 ของโลก อุบัติขึ้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อ พ.. 1113
โดยพระมุฮามัดเป็นศาสดาและได้แพร่หลายไปที่ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ยุโรป อเมริกา และในภูมิภาค
ต่าง ๆ ทั่วโลก
คำ ว่า “อิสลาม” มาจากศัพท์ภาษาอาหรับว่า อิสลามะ ซึ่งมาจากศัพท์เดียวกันกับคำ
ว่า มุสลิม มาจากคำ ว่า ซะลิมะหรือ ซะละมุน แปลว่า สันติการนอบน้อม การยอมจำนนโดยสิ้นเชิง
อิสลามจึงมีความหมายว่า การนอบน้อมมอบตนต่อพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ์ แต่พระองค์
เดียวอย่างสิ้นเชิงหรือความสันติ
มุสลิม เป็นคำ ที่ใช้เรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม หมายถึงผู้ที่นอบน้อมมอบตนต่อพระ
องค์ พระองค์ อัลลอฮ์แต่ผู้เดียวอย่างสิ้นเชิง เพื่อความสันติ (เสาวนีย์ จิตหมวด : 17)
คำ ว่า อัลเลาะฮ ก็ดี อัลลอฮ์ ก็ดี หมายถึงพระเจ้าสูงสุดในศาสนาอิสลามองค์เดียวกัน
เพียงแต่การเขียนเป็นไปตามสำ เนียงภาษาและรูปศัพท์เดิมเท่านั้น บุคคลภายนอกศาสนาอิสลามมักจะยึด
รูปศัพท์เดิมเป็น อัลลอฮ์ เช่นเดียวกับคำ ว่า มุฮัมมัด โมฮัมเหม็ด และมะหะหมัด เป็นคำ ที่ใช้ทั่วไป และ
หมายถึงพระศาสดาของศาสนาอิสลาม พระองค์เดียวกัน ซึ่งเดิมมีนามว่าอาบูคัสซิม
 ศาสนธรรมของศาสนาอิสลาม อยู่ในสายธารแห่งจริยธรรมระดับเดียวกับศาสนายิว
ศาสนาคริสต์ ดังนั้น จึงมีคำ สอนที่กลมกลืนกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
การดำ เนินชีวิตตามวิถีที่พระเจ้าทรงบัญญัติไว้ ชาวมุสลิมดำ เนินชีวิตตามหลักศรัทธา และหลักปฏิบัติ
เพื่อจะได้เข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้า จุดหมายสูงสุดแห่งความสุขสงบของชีวิต



สาระของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาเก่าแก่ของโลก คาดกันว่ามีอายุมากกว่า 4,000 ปี ต่อมา
ศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู กล่าวคือในยุคแรก ๆ แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง
เทพเจ้าต่าง ๆ ได้มีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวอินเดีย จนกระทั่งเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตล้วนมีเทพเจ้าเข้า
มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น และเทพเจ้าเหล่านั้นก็ถูกผูกขาด โดยชาวอารยันชั้นสูง ที่เรียกว่า วรรณะสูง ซึ่งได้แก่
กษัตริย์และพราหมณ์ กษัตริย์ทำ หน้าที่เป็นนักปกครอง พราหมณ์ทำ หน้าที่เป็นผู้รับทำ พิธีกรรม คือรับ
หน้าที่เป็นผู้สื่อสารกับเทพเจ้า ทั้งสองวรรณะนี้จัดว่าเป็นชนวรรณะสูง แพศย์เป็นชาวอารยันเช่นเดียวกับ
กษัตริย์และพราหมณ์ มีหน้าที่ในการประกอบธุรกิจค้าขาย หรือเป็นชาวนา ที่มีนาเป็นของตนเอง จัดว่า
เป็นชนวรรณะกลาง (ชนชั้นกลาง) และวรรณะสุดท้ายคือ ศูทร มีหน้าที่รับใช้คนชั้นสูง เป็นกรรมกร
แบกหามทำ งานหนัก จัดเป็นชนชั้นต่ำไม่สามารถที่จะร่วมคบหาสมาคม กินอยู่หลับนอน และร่วมกิจ
กรรมต่าง ๆ อย่างเสมอภาคกับชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อห้ามทางศาสนาคือ
คัมภีรพ์ ระเวท ซึ่งชาวอารยันเป็นผู้สร้างขึ้นมา ศูทรเป็นชาวอินเดียพื้นเมือง ซึ่งอาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาก่อน
ก่อนที่ชาวอารยันอพยพเข้ามาจึงเป็นอันว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาของชาวอารยัน
และเหตุผลที่เรียกว่าศาสนาพราหมณ์เพราะพราหมณ์ผู้ซึ้่งมีหน้าที่ทำพิธีกรรมนั้นได้มีบทบาทในสังคมสูงมาก
เมื่อศาสนาเช่นและศาสนาพุทธได้อุบัติขึ้นในอินเดีย แนวคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนา
พราหมณ์ดังกล่าว ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปและได้กลายมาเป็นศาสนาฮินดู คือศาสนาของคนที่อาศัยอยู่ใน
ลุ่มแม่น้ำสินธุ ได้เกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งก็พัฒนามาจากคัมภีร์พระเวทนั่นเอง โดยมีการปรับเปลี่ยนเทพ

เจ้าสูงสุดจากพระอินทร์และเทพเจ้าองค์อื่นๆ แต่หากเป็นแนวคิดแบบปรัชญาชั้นสูง โดยมีสาระสำ คัญว่า
ชีวิตของมนุษย์ (รวมทั้งสัตว์ด้วย) มาจากพระพรหม และจะกลับเข้าไปอยู่กับพระพรหมอีก แต่การที่จะ
กลับเข้าไปอยู่กับพระพรหมได้นั้น ชีวิตนั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้โดยการประพฤติ
ปฏิบัติตามหลักการที่กำหนดไว้ในศาสนา ซึ่งมีรายละเอียดมากมายและมนุษย์แต่ละคน ซึ่งมีชีวิตอยู่ใน
ขณะนี้เป็นชิ้นส่วนของพระพรหม พราหมณ์เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม แพศย์เกิดจากส่วนท้องของ
พระพรหม และศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม ทุกวรรณะที่มีชีวิตอยู่ในขณะนี้เกิดจากพระพรหมเมื่อ
เกิดมาแล้ว และต้องทำ หน้าที่ตามวรรณะของตน เมื่อมีความบริสุทธิ์เพราะการปฏิบัติหน้าที่ และการทำ
ความดีอย่างอื่น ควบคูกั่นไปจนเกิดความบริสุทธิ์ ทั้งทางกายและใจแล้วก็จะกลับไปอยู่ในร่างของพรหม เป็น
ชีวิตอมตะ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสสารต่อไปอีก
ศาสนาพราหมณ์ แม้จะได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาของ
คนทั่วไป แต่หลักความเชื่อและการปฏิบัติก็ยังยึดหลักการเดิมในคัมภีร์พระเวท เพียงแต่ได้มีการเพิ่มเติม
โดยแยกแยะเป็นลัทธิต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ยังพัวพันอยู่กับคัมภีร์พระเวทอยู่นั่นเอง เพียงแต่เป็นการ
อธิบายและเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมของเหล่าเกจิอาจารย์เจ้าลัทธิต่าง ๆ ขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น จึงเรียก
รวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
หลักการดำ เนินชีวิตตามแนวคิดศาสนาพราหมณ์- ฮินดู
แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเทพเจ้า มีการอธิบายลักษณะของพระพรหมเพิ่มจากเดิมให้มีความชัดเจนยิ่ง
ขึ้นว่า พระเจ้าแท้จริงมีพระพรหมเพียงองค์เดียว พรหมเป็นสิ่งที่อยู่เที่ยงแท้ ไม่อาจมองเห็นด้วยตาโลก
และสรรพสิ่งในโลก มิใช่ของจริงล้วนเป็นมายา เทพเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงส่วนย่อยของพรหมที่มา
ปรากฏเพียงชั่วคราวเท่านั้น
2. เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีคำ อธิบายว่า การที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน
สภาพต่างๆนั้น เป็นเพราะผลของกรรม (กรรมเก่า) พระพรหมเป็นศูนย์รวมและเป็นต้นกำ เนิดแห่ง
วิญญาณทั้งปวง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดถือกำเนิดมาจากพรหม วิญญาณทุกดวงที่แยกออกไปจากพรหม อาจเข้าสิงสถิตในร่างต่าง ๆ เช่น เทวดา มนุษย์ สัตว์ หรือพืช ก็ได้ทุกครั้งที่ร่างเดิมแตกดับวิญญาณก็จะเข้า
ไปอาศัยร่างใหม่ เรียกว่า “ภพ” หรือ “ชาติ” หนึ่ง ตราบเท่าที่วิญญาณต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะเกิด
เป็นอะไร ต้องประสบกับความทุกข์เรื่อยไป จนกว่าวิญญาณนั้นจะหลุดพ้นจากภาวะแห่งการเวียนว่าย
ตายเกิด คือการบรรลุโมกษะวิญญาณนั้นก็จะกลับไปอยู่กับพรหมดังเดิม
3. เรื่องวิธีการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อธิบายว่าผู้ใดยุติการกระทำผู้นั้นย่อมหลุดพ้น จากการเกิด
4. เรื่องวันสิ้นโลก อธิบายว่า โลกที่พรหมสร้างขึ้นมีอายุขัย เมื่อครบกำหนดอายุขัย จะมีการ
สร้างโลกขึ้นใหม่ ระยะเวลาตั้งแต่การสร้างโลกจนถึงการล้างโลกเรียกว่า “กัลป์” หนึ่ง แบ่งเป็น 4 ยุค
กฤตยุค เตรตายุค ทวาปยุค และกลียุค ทั้ง 4 ยุค รวมกันเรียกว่า “มหายุค” แต่ละยุคเวลาจะสั้นลงตาม
ลำ ดับเช่นกัน
5. เรื่องการศึกษา มีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับ กล่าวคือประชาชนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์
กษัตริย์ และแพทย์จะต้องส่งบุตรหลานของตนเข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งของวรรณะ
พราหมณ์ ก่อนรับเข้าศึกษานักบวชพราหมณ์จะประกอบพิธีเสกเป่ามนตราและคล้องด้ายมงคลที่ถือว่า
ศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า “สายธุรำ  เฉวียงบ่าแก่เด็ก พิธีนี้เรียกว่า “ยัชโญปวีต” ผู้ผ่านพิธีนี้แล้วถือว่าเป็นผู้เกิด
ใหม่เรียกว่า “ทวิช” แปลว่า ผู้เกิดสองครั้ง


สาระของชีวิตตามแนวลัทธิอื่นๆ
ลัทธิเต๋า
เจ้าลัทธิเต๋า คือ เล่าจื้อ มีชีวิตอยู่ระหว่าง 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล คำ ว่า  เต๋า  แปลว่า หน
ทางหรือวิถี กล่าวคือ มรรคที่จะทำ ชีวิตเข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของชีวิต คัมภีร์เต๋าเรียกว่า เต๋าเต็กเก็ง
แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรก เรียกว่า เต๋าเก๋ง ภาค 2 เรียกว่า เต็กเก็ง
กำเนิดสรรพสิ่งตามทัศนะของเต๋า
ทัศนะเกี่ยวกับกำเนิดของสรรพสิ่งตามลัทธิเต๋า หรือวิถีแห่งเต๋า ได้แก่เรื่อง หยางและหยิน ที่เป็น
ปรัชญาพื้นฐานของจีนโบราณ โดยถือว่า สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิต อากาศธาตุ หรือแม้แต่จักรวาล
ล้วนกำเนิดมาจากส่วนประกอบของหยางและหยิน เมื่อหยางและหยินมีความสมดุลกัน ทุกสิ่งทุกอย่าง
ก็เกิดจะมีสันติสุข แต่เมื่อหยางและหยินไม่สมบูรณ์กัน ทุกสิ่งก็แปรเปลี่ยนถ้าเป็นชีวิต ก็ถึงกาลแตก
สลาย แม้แต่โลกธาตุก็แตกดับได้ ดังบทคำ สอนดังนี้
 เต๋าให้กำเนิดแก่หนึ่ง
จากหนึ่งเป็นสอง
จากสองเป็นสาม
จากสามเป็นสรรพสิ่งในจักรวาล
จักรวาลที่ถูกสร้างสรรค์
ประกอบด้วยหยางอยู่หน้า
หยินอยู่ด้านหลัง
สิ่งหนึ่งขาวสิ่งหนึ่งดำ
สิ่งหนึ่งบวกสิ่งหนึ่งลบ
ทั้งสองสิ่งผสมผสานกัน
จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว 

ชีวิตของมนุษย์เป็นไปตามอำนาจเต๋า
เต๋าเป็นต้นกำเนิด และเป็นสิ่งที่ควบคุมชีวิตมนุษย์ ดังนั้น การเรียนรู้และเข้าใจ “เต๋า” จึงเป็น
การเรียนรู้ที่ประเสริฐสุดของชีวิต มนุษย์มิได้มีอิสระในตัวเอง แต่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎของเต๋าอันเป็น
ธรรมชาติ บรรดาสิ่งสูงสุดมี 4 อย่าง คือ เต๋า ฟ้า ดิน มนุษย์ สังคมจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมนุษย์มีความรู้
แจ้งเต๋า และปฏิบัติตามเต๋ามากน้อยเพียงใด เต๋ามีลักษณะแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะความอ่อน
น้อมถ่อมตน และความอ่อนโยนย่อมชนะความแข็งกระด้าง
เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามแนวทางศาสนาเต๋า ก็คือ การบรรลุเต๋า เพราะเต๋าเป็นคลังเก็บรวบ
รวมสรรพสิ่ง เป็นมณีของสาธุชนและเป็นที่คุ้มครอง รักษาทุรชนด้วย
การดำ เนินชีวิตตามวิถีเต๋า
จริยธรรมอันเป็นคำ สอนของเล่าจื้อ แสดงความสูงศักดิ์ของอำนาจสูงสุด คือ เต๋าเล่าจื้อ สอนให้
มนุษย์มีความสงบ มีความเป็นธรรม มีวิถีชีวิตที่ผสมกลมกลืนและเข้ากันได้กับธรรมชาติที่เป็นไปทุกวิถี
ทาง
ลัทธิขงจื๊อ
เจ้าลัทธิขงจื๊อ คือขงจื๊อ มีชีวิตอยู่ระหว่าง 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล ขงจื๊อสอนว่ามนุษย์เกิดมา
จากธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์คือ ซิง (Sing) มนุษย์เกิดมาพร้อมความดี อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะมี
ธรรมชาติดี แต่ก็มีข้อแตกต่างกันออกไป โดยธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์เหมือนกัน แต่วิธีการปฏิบัติ
ทำ ให้มนุษย์มีความหลากหลายและแตกต่างกัน
ขงจื้อ มีทัศนะว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คนจะอยู่คนเดียวไม่ได้ คนต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จุดเริ่มต้นของคนคือครอบครัว ความสัมพันธ์ของสังคม มี 5 ระดับ คือ
1. บิดามารดากับบุตรธิดา
2. สามีกับภริยา
3. พี่กับน้อง
4. กษัตริย์ ขุนนางกับปวงประชา
5. คนกับมิตรสหาย
ทุกระดับจะต้องมีจริยธรรมต่อกัน และกัน กล่าวคือ ความกตัญญูกตเวที ความรัก ความ
ซื่อตรง ความสมานสามัคคี ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือจุนเจือ และเมตตากรุณา ทุกคนต้องทำ หน้า
ที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด ที่เรียกว่า เจี้ยเมี้ย เช่น พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้การศึกษา แนะนำ พรํ่าสอน
บุตรธิดาต้องเคารพตอบแทนพระคุณของบิดามารดา กษัตริย์ต้องทำ หน้าที่ปกครอง บำรุงสุข บรรเทา
ทุกข์ปกปักรักษาอาณาเขตแก่ปวงประชา ปวงประชาจะต้องจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ปฏิบัติตนให้อยู่ใน
ขอบเขตกฎหมายของบ้านเมือง เป็นต้น

นอกจากนี้ ลัทธิขงจื้อเห็นว่า การศึกษาสำ คัญมากที่สุด ทุกคนต้องได้รับการศึกษาอบรมท่าน
กล่าวไว้ว่า
เกิดมาแล้วรู้ตัวเป็นดีที่สุด
ศึกษาแล้วรู้เป็นรองลงมา
ยากจนต้องศึกษา
ยากจนไม่ศึกษา คนชนิดนี้เลวมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น