วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555

VDO ท่องคุณธรรมเยาวชน บทที่1

VDO ท่องคุณธรรมเยาวชน 
บทที่1 













พ่อแม่ท่านเรียกหา    อย่ารอช้ารีบรับขาน
พ่อแม่ท่านสั่งการ     อย่าเกียจคร้านทำเร็วไว
พ่อแม่ท่านสอนสั่ง    จงเชื่อฟังอย่างตั้งใจ
พ่อแม่ท่านติใคร       นิ่งฟังไว้เป็นเด็กดี










ยามหนาวเฝ้าห่มผ้า   ยามร้อนหนาเฝ้าพัดวี
ยามเช้าสวัสดี   ยามค่ำที่นอนจัดแจง
ก่อนออกต้องบอกกล่าว   ตอนกลับเข้าต้องแถลง
ที่พักเป็นหลักแหล่ง   ไม่เปลี่ยนแปลงงานร่ำไป
เรื่องราวแม้เล็กน้อย   จงอย่าปล่อยทำตามใจ
ไม่บอกพ่อแม่ไว้   ผิดวินัยของเด็กดี 








สิ่งของแม้เล็กน้อย   จงอย่าคอยแอบซ่อนหนี
พ่อแม่รู้ไม่ดี   เพราะท่านนี้จะเสียใจ
สิ่งใดที่ท่านชอบ   รีบหามอบนำมาให้
ที่ท่านไม่ชอบใจ   รีบห่างไกลไม่กระทำ












หากป่วยทางกายา   ท่านทุกข์กว่ากังวลซ้ำ
หากป่วยคุณธรรม   ท่านชอกช้ำเพราะอับอาย
พ่อแม่เฝ้าเอ็นดู   กตัญญูคือเรื่องง่าย
พ่อแม่ไม่สนใจ   กตัญญูได้คือเมธา












หากพ่อแม่ทำผิด   หาทางคิดทัดทานหนา
ยิ้มแย้มบนใบหน้า   เจรจาอ่อนโยนหนอ
หากท่านไม่รับฟัง   จงมุ่งหวังทัดทานต่อ
คุกเข่าอ้อนวอนขอ   ท่านว่าก็ไม่เกี่ยงงอน
ยามพ่อแม่เจ็บป่วย   ชิมยาด้วยตนเองก่อน
ดูแลไม่ถ่ายถอน   เฝ้าที่นอนไม่ห่างไป









ยามพ่อแม่วายชนม์   ในกมลโศกเสียใจ
เป็นอยู่ให้เรียบง่าย   เหล้าอบายงดเว้นพลัน
งานศพธรรมเนียมชอบ   งานครบรอบกราบไหว้ท่าน
เคารพนบเพียรหมั่น   ราวท่านนั้นยังอยู่เคียง





ความประทับใจ การรับธรรมมะ ณ มูลนิธิธรรมกิจไพศาล

ความประทับใจ การรับธรรมมะ ณ มูลนิธิธรรมกิจไพศาล



      ก่อนอื่นเลย เมื่อเข้าไปในการรับธรรมมะเราจะต้องเรียกตัวเราเองว่า”ผู้น้อย” และเรียกผู้อื่นว่า”ผู้อาวุโส” ข้าพเจ้าขออนุญาตเรียกตัวเองว่า”ผู้น้อย”ในการเรียบเรียงความประทับใจในการรับธรรมมะ
       เนื่องจากในครั้งแรกที่ผู้น้อยได้ไปที่มูลนิธิ ผู้น้อยรีบไปมากจึงไปถึงที่มูลนิธิประมานตี5ครึ่งยังไม่6โมงดี ผู้น้อยและเพื่อนๆได้ไปกดกริ่งเพราะว่าประตูมูลนิธิยังไม่เปิด เนื่องจากยังจัดเตรียมสถานที่ไม่เสร็จดี ทางมูลนิธิก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีด้วยการจัดแจงเตรียมเครื่องดื่มและขนมปังรองท้องให้ผู้น้อยและเพื่อนๆได้ทานกัน เมื่อถึงเวลาที่ทุกคนมาพร้อมกันแล้วก่อนที่จะขึ้นไปรับธรรมมะ ทางมูลนิธิได้ให้พวกเราเรียงแถวเพื่อลงทะเบียนและมีผ้าเย็นมาเช็ดมือ(คิดในใจ จะสะอาดอะไรขนาดนี้..) เมื่อทำการลงทะเบียนเสร็จเราก็ได้ทานของว่างอีกก๊อก2 อิ่มมากกกขอบอก เมื่อถึงเวลาที่เข้าพิธีธรรมมะสิ่งแรกที่ผู้น้อยคิดคือ สถานที่ทำพิธีดูแปลก ผู้น้อยไม่เคยเห็นการทำพิธีแบบนี้มาก่อน และเมื่อเริ่มทำพิธีก็ยิ่งประหลาดใจเพราะพิธีรับธรรมมะแบบนี้ผู้น้อยไม่เคยได้ทำมาจากที่ไหนเลย ทั้งการไหว้ กับคำนับ หรือคำกล่าวรับธรรมมะ การรับธรรมมะในครั้งแรกเป็นอะไรที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้น้อยเป็นอย่างมาก เมื่อทำพิธีการเสร็จผู้น้อยก็ได้ทานอาหารมังสวิรัติ คือข้าวหมูแดงเจ เป็นอาหารที่ถูกปากสำหรับผู้น้อยมาก คนอื่นอาจจะไม่ชอบแต่ผู้น้อยชอบมากฟั๊ดไป2จาน พอทานเสร็จก็มีแจกแอปเปิ้ลกันก่อนกลับและไปรับบัตรรับธรรมมะ ตอนกลับทางมูลนิธิก็จัดรถตู้ไปส่งผู้น้อยและเพื่อนๆ เป็นการรับธรรมมะครั้งแรกที่ผู้น้อยประทับใจมาก J








การมาเยือนมูลนิธิกิจไพศาลครั้งที่2 ผู้น้อยมาทำการอบรมธรรมชั้นธรรมกระจ่าง ครั้งนี้การต้อนรับจากมูลนิธิก็ยังต้อนรับได้ดีเหมือนเดิม เมื่อถึงเวลาขึ้นไปชั้นบนห้องโถงที่ไว้สำหรับธรรมพิธีแล้ว ผู้น้อยก็ได้รับใบตารางกิจกรรมที่จะต้องทำกันกิจกรรมในครั้งที่2จะเยอะมาก เริ่มแรกเลยก็จะเป็นการไหว้พระเช้าขอความเมตตาก่อน และผู้อาวุโสอาจารย์ประธานพรก็ได้แนะนำว่ากิจกรรมที่ต้องทำนั้นมีอะไรบ้างและได้ทำการแบ่งกลุ่มล่ะ6คน หลังจากนั้น ผู้อาวุโสคุณอรรจนาก็ได้มากล่าวอธิบายถึงการกราบไหว้พระ เท่าที่ผู้น้อยจำได้ ผู้อาวุโสอธิบายถึงการกราบไหว้ต้นไม้ ซึ่งจริงๆแล้วใครจะรู้ว่าต้นไม้ที่เรากราบไหว้อยู่นั้น ที่มาของการกราบไหว้มันคืออะไร แค่เราเห็นมีคนไหว้กันมีคนบอกต่อๆกันมาเราก็ไปกราบไหว้กันตามเขาพูดเห็นเขาวางพวงมาลัยไว้เราก็คิดมาต้นไม้ศักสิทธิ์แต่เบื้องหลังอาจจะมากจากคนเอาพวงมาลัยมาทิ้งไว้แค่นั้นเอง  แต่แล้วมันก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล หลังจากผู้อาวุโสคุณอรรจนาบรรยายจบ ผู้น้อยก็ได้รับฟังคำบรรยายจากผู้อาวุโสดร.นิพนธ์ เกี่ยวกับเรื่องIQ,EQ  กล่าวรวมๆก็คือการ Format จิต Delete อารมณ์ “จิตเป็นผู้รู้ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้” หลังจากนั้นผู้น้อยและเพื่อนๆก็ลงไปนั่งพักรับประธานอาหารกลางวัน และขึ้นมาฟังชีวิตการรับธรรมมะของผู้อาวุโสน้องไข่ตุ๋น ผู้อาวุโสได้เล่าถึงชีวิตหลังจากได้รับธรรมมะไป ทำให้เปลี่ยนตัวเองเป็นคนนอบน้อมกราบไหว้ผู้ใหญ่ จากที่เป็นคนไม่ค่อยไหว้ผู้ใหญ่ก็เปลี่ยนเป็นนอบน้อมมากขึ้น และสิ่งที่ผู้อาวุโสอยากจะทำต่อไปคืออยากให้พ่อแม่ที่อุดรฯ มารับธรรมมะอย่างที่ผู้อาวุโสได้มารับ แต่ก็ยังไม่มีโอกาสเนื่องจากอยู่ไกล แต่สุดท้ายผู้อาวุโสก็ยืนยันว่าจะต้องพาคนที่รักมารับธรรมมะที่สถานธรรม มูลนิธิธรรมกิจไพศาลนี้ให้ได้ หลังจากที่ฟังการบรรยายจบก็ถึงเวลาทีผู้น้อยชอบและประทับใจมากที่สุดคือการเล่นเกมส์สำนึกคุณ ก่อนจะเล่นเกมส์นั้นผู้น้อยก็มีโอกาสได้ทำประโยชน์ส่วนรวมด้วยการยกเก้าอี้ช่วยจัดสถานที่ การเล่มเกมส์ก็จะให้รวมกลุ่มกันและจับคู่คนหนึ่งต้องปิดตาและอีกคนหนึ่งต้องเป็นผู้นำทางพาคนถูกปิดตาเดินให้ถูกแต่ผ่านอุปสรรคไปให้ได้ เป็นเกมส์ที่สร้างความสามัคคีแต่ทำให้ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ หลังจากเล่มเกมส์กันเสร็จแล้วตัวแทนแต่ล่ะกลุ่มก็ออกไปกล่าวความประทับใจในการมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เมื่อจบกิจกรรมเสร็จทั้งหมด ผู้น้อยจึงได้เรียนรู้หลายอย่างจากที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ผู้น้อยก็ได้รู้จักมัน หลังจากผู้น้อยได้ผ่านการทำกิจกรรมมาแล้วสิ่งที่ยังเหลืออยู่ก็คือความประทับใจที่ผู้น้อยได้รับจากมูลนิธิแห่งนี้และจากอาจารย์ประทานพร ผู้น้อยจะไม่ลืมเลย

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

"มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2555 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา"




วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1.เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2.เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และ "บิดาแห่งนวัตกรรมไทย"
3.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในประเทศและนานาชาติ
4.เพื่อกระตุ้นความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคนไทย
5.เพื่่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาชีพด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป



สำหรับงานมหกรรมวิทศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2555 จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด"จุดประกายความคิดพัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์" ซึ่งภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของดทย" และ"พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย" และนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์



ความประทับใจในการไปเยี่ยมชมงานวิทยาศาสตร์

เมื่อเข้าไปถึงงานแล้วข้าพเจ้ารู้สึกตื่นตาตื่นใจกับบบรยากาศภายในงานมาก สิ่งที่ข้าพเจ้าชอบและประทับใจมากที่สุดก็คือการเข้าไปเรียนรู้การปลูกต้นสัก และที่สำคัญได้ดูแบบ3มิติด้วย และที่ชอบมากที่สุดๆๆๆคืองูเหลือมยักษ์หนังมีความมันเงาเวลาจับสัมผัสแล้วรู้สึกแปลกดี รวมๆแล้วกิจกรรมภายในงานมีสาระและได้ความสนุกเป็นอย่างมาก

มงคล ๓๘ ประการ


"มงคล ๓๘ ประการ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัย


มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำรงชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัตินำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี"มงคลชีวิต"ซึ่งมี๓๘ประการได้แก่


๑.ไม่คบคนพาล                          ๒.การคบบัณฑิต                           ๓.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา 
๔.การอยู่ในถิ่นอันสมควร              ๕.เคยทำบุญมาก่อน                       ๖.การตั้งตนชอบ 
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต          ๑๑.การบำรุงบิดามารดา                  ๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา               ๑๔.ทำงานไม่คั่งค้าง                        ๑๕.การให้ทาน 
๑๖.การประพฤติธรรม                  ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ                   ๑๘.ทำงานไม่มีโทษ 
๑๙.ละเว้นจากบาป                      ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเม               ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย 
๒๒.มีความเคารพ                        ๒๓.มีความถ่อมตน                          ๒๔.มีความสันโดษ 
๒๕.มีความกตัญญู                       ๒๖.การฟังธรรมตามกาล                  ๒๗.มีความอดทน 
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย                          ๒๙.การได้เห็นสมณะ                       ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล 
๓๑.การบำเพ็ญตบะ                     ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์              ๓๓.การเห็นอริยสัจ 
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน     ๓๕.การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม      ๓๖.การมีจิตไม่โศกเศร้า 
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส                ๓๘.มีจิตเกษม 



มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล  
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน


มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา

มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ

มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร

เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล


มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก

มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา

มงคลที่ ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี

มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ

มงคลที่ มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน

มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง

มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง


มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์

มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
 
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย

มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ

มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน

มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
 
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี


มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป

กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน

มงคลที่ 22 มีความเคารพ
  
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี


มงคลที่ 25 มีความกตัญญู 
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร

มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล

มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย 
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา

มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี


มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร


มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ 
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์


มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล


มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร


มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน 
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก


มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ


มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง


มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส  
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม


มงคลที่ 38 มีจิตเกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร 


ความจริงของชีวิต


"ความจริงของชีวิตในทัศนคติแต่ล่ะศาสนา"


  สาระของชีวิตตามแนวศาสนธรรม
ตามหลักศาสนธรรม ถือว่าชีวิตมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ เป็นชีวิตที่
สามารถพัฒนาได้มากกว่าชีวิตอื่น ๆ มนุษย์มีความจำ สติปัญญาและวัฒนธรรม มนุษย์เป็นอิสระในการ
คิดและการกระทำ สามารถเลือกเส้นทางเดินของชีวิตและเป้าหมายชีวิตของตนเองได้ และมนุษย์มี
ศรัทธาใฝ่หาความดีและความสุขเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้น ในหลักศาสนธรรมจึงได้กล่าวถึงชีวิตมนุษย์
ตั้งแต่ความหมาย กำเนิด องค์ประกอบ ความมุ่งหมาย คุณค่า เป้าหมาย และการดำ เนินชีวิตตามหลักศา
สนธรรมเพื่อให้มนุษย์เข้าถึงความเป็นจริงและความดีสูงสุดเป็นชีวิตที่มีสันติสุข รวมทั้งสังคมที่มีสันติภาพ

 สาระของชีวิตตามแนวพุทธธรรม
พุทธธรรมเป็นศาสนธรรมของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ใช้ปัญญาเป็นประทีปส่องทาง
ของชีวิต ผู้ที่ขาดปัญญานำ ทางชีวิตเสมือนดังคนตาบอดเหยียบลงกองไฟที่เขาจุดไว้ส่อง พุทธธรรมสอน
ให้มนุษย์หันกลับมามองตนเองที่ยาววาหนาคืบ ประกอบด้วยเบญจขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ซึ่งตกอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชีวิตของมนุษย์จึง
เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนตนเองและก็สามารถฝึกฝนให้ดีได้ตามหลักไตรสิกขา 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ และ
ปัญญา เพื่อชีวิตที่มีอิสระจากโลภะ โทสะ และโมหะ มีความผาสุกอย่างแท้จริง
ชีวิตคืออะไร
ชีวิต คือ ธรรมชาติรูปแบบหนึ่งที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ คือ เกิดขึ้น (อุปปาทะ)
ตั้งอยู  (ฐิติและดับไป (ภังคะหรือเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง (อนิจจังมีความพร่อง
(ทุกขังและไร้ตัวตนที่ถาวร (อนัตตา)
ชีวิต คือ ปัญหา (ทุกขัง)
ชีวิต คือ ขันธ์ 5 ตามหลักพุทธธรรม ที่เป็นผลรวมขององค์ประกอบ 5 ตัว หรือสิ่งของ
ตัว หรือ สิ่งของ 5 อย่าง มารวมตัวกันเข้า เรียกตามภาษาธรรมะว่า ขันธ์ 5 (The Five Aggregates)

สังขารขันธ์แบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
(1) ปุญญาภิสังขาร สภาวะที่ปรุงแต่งจิตดี หรือเป็นกุศล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คิดดี
(2) อปุญญาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตชั่ว หรือเป็นอกุศล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คิดชั่ว
(3) อเนญชาภิสังขาร สภาวะปรุงแต่งจิตไม่ดีไม่ชั่ว หรือเป็นอัพยากฤตหรือกล่าว
อีกนัยหนึ่งคือ คิดไม่ดีไม่ชั่ว__
                วิญญาณขันธ์ (Consciousness) คือ กองแห่งความรู้ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ต่าง ๆ
ที่มากระทบเข้าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับอายตนะภายนอก คือ อารมณ์ต่าง ๆ ได้แก่ รูป เสียง
กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และมโนภาพ หรือ ธัมมารมณ์ ก็จะเกิดความรู้ขึ้น เช่น เมื่อตากระทบกับรูป โดยมี
แสงสว่างเป็นสื่อกลางก็จะเป็นความรู้ทางตา ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณขึ้น
(1) ตา เห็นรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้ทางตา)
(2) หู ได้ยินเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้ทางหู)
(3) จมูกได้กลิ่น เกิด ฆาณวิญญาณ (ความรู้ทางหู)
(4) ลิ้น ลิ้มรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้ทางลิ้น)
(5) กาย สัมผัสกับสิ่งสัมผัส เกิด กายวิญญาณ (ความรู้ทางกาย)
(6) ใจคิดถึง ธัมมารมณ์ (มโนภาพเกิด มโนวิญญาณ (ความรู้ทางใจ)

ปฏิสนธิจิต จิตที่เกิดในขณะแรกที่ปฏิสนธิ เป็นจิตที่สืบมาจากจุติจิต
ภวังค์จิต จิตที่เกิดในขณะแรกที่ปฏิสนธิ เป็นจิตที่สืบมาจากจุติจิต
ภวังคจิต คือ จิตที่เป็นรากฐานของชีวิต เป็นจิตที่จะใช้ดำ รงชีวิตอยู่ทำ หน้าที่ควบคุม

อวัยวะภายใน และควบคุมการทำ งานภายในระบบของเซลล์ เมื่อมีอวัยวะเกิดขึ้นและทำ หน้าที่แล้วจึงจะ
มีวิถีจิต หรือวิญญาณเกิดขึ้น
ขันธ์ 5 เมื่อกล่าวโดยย่อ ได้แก่ รูปและนาม หรือรูปธรรม และนามธรรม รูปขันธ์จัดเป็น
รูปธรรม ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จัดเป็นนามธรรม

แผนภูมิที่ 1 และแผนภูมิ ที่ 2 ซึ่งแสดงการเชื่อมโยงกระบวนการของชีวิต




 คนแต่ละคนแยกส่วนประกอบออกได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
(1) ส่วนรูปได้แก่ ร่างกายซึ่งประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ เป็นต้น
(2) ส่วนนาม ได้แก่ จิตใจ ซึ่งเป็นนามธรรม คือ สิ่งที่ไม่สามารถจับต้องมองเห็นได้ แต่
สังเกตได้ด้วยการแสดงพฤติกรรม หรือรู้โดยอาการที่เกิดขึ้น
กระบวนการของชีวิต
ชีวิตมนุษย์ย่อมเป็นไปตามกระบวนการเกิดของเบญจขันธ์ และเป็นไปตามกฎธรรม
ชาติ ได้แก่ ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท และกฎแห่งกรรม การที่จิตหรือวิญญาณ ซึ่งเป็นตัวรู้จะไปรับรู้
อารมณ์ภายนอกทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฎฐัพพะ (การสัมผัสและสามารถแสดงปฏิกิริยา
สนองตอบได้นั้น จิตจะต้องอาศัยประสาทสัมผัสภายในทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นสื่อไปรับรู้อารมณ์ภายนอกดังกล่าว อารมณ์ภายนอกและประสาทสัมผัสภายในรวมกันเป็นส่วนหนึ่งของกาย จึง
เห็นได้ว่า จิตจะต้องอาศัยกายเป็นที่แสดงออก
 อุปมาของชีวิต
นิยามความหมายของชีวิต ผู้รู้ได้กล่าวไว้ในเชิงเปรียบเทียบไว้หลายประการ แต่จะขอ
นำ มากล่าวไว้ ณ ที่นี้พอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1. ชีวิต คือ หม้อดิน เพราะชีวิตแตกสลายได้ง่าย ความตายเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อทุกขณะ
เห็นหน้าอยู่เมื่อเช้า สายตาย สายอยู่สบาย บ่ายม้วย ฯลฯ มนุษย์จึงต้องไม่ประมาท ระมัดระวังรักษาชีวิต
ไว้ให้ได้
2. ชีวิตเหมือนโคที่เขาจูงไปสู่ที่ฆ่า โคยิ่งเดินเท่าไรก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกขณะ มีชีวิต
อยู่แต่ล่ะวันแต่ละคืน วันคืนผ่านไป ชีวิตมนุษย์ก็ใกล้จะตายทุกขณะ
3. ชีวิตคือการต่อสู้ ชีวิตมนุษย์ต้องต่อสู้ความทุกข์ ความลำ บากมากมาย เช่น หนาว
ร้อน กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนชีพสลาย
4. ชีวิตคือการเดินทางไกลอันยาวนาน เพราะชีวิตต้องเดินทางมุ่งไปหาความสุขที่แท้
ความสุขชั่วนิรันดร์ต้องใช้เวลายาวนาน หลายภพหลายชาตินับไม่ถ้วนจึงจะพบความสุขที่แสวงหา
5. ชีวิตคือละคร ชีวิตแต่ละคนก็เล่นไปตามบทบาทของคน ชีวิตเหมือนฉากละครที่ผ่าน
ไปเป็นฉาก ๆ เมื่อจบฉากแล้วก็จบสิ้นเชิงหน้าที่และบทบาท ต้องโบกมืออำ ลาโรง ลงมาดูเวทีอันว่าง
เปล่าหรือดูผู้อื่นเล่นบทเวทีชีวิตต่อไป
6. ชีวิตคือการวิ่งไล่คว้าเงา หลายครั้งที่มนุษย์วิ่งไล่เงาของตัวเอง สร้างอนาคตไว้อย่าง
สวยหรูและก็วิ่งไล่สิ่งที่คาดหวังอย่างเอาเป็นเอาตาย เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปตลอดชีพ เมื่อคว้าตะครุบได้
ก็เป็นเพียงเงาๆ ที่หาแก่นแท้สาระไม่ได้เลย
7. ชีวิตคือฤดูกาล ฤดูกาลมีร้อนมีหนาวมีฝน ชีวิตก็เฉกเช่นนั้น เพราะชีวิตมีความทุกข์
ความสุข ความสมหวัง ผิดหวัง มีได้มีเสีย ผสมปนเป ชีวิตมิได้มีแต่เพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชีวิตมีหลายสิ่ง
หลายอย่างเพื่อทำ ให้ชีวิตสมบูรณ์ ถ้าฤดูกาลมีเพียงฤดูฝนอันเย็นฉํ่าเพียงฤดูเดียว คงไม่เพียงพอที่จะทำ ให้
พืชธัญญาหารผลิตออกผลฉันใด ชีวิตมนุษย์ก็ฉันนั้น
8. ชีวิตคือนักมวย มนุษย์ถูกธรรมชาติกำหนดให้ขึ้นชกบนสังเวียนแห่งชีวิต คู่ต่อสู้คือ
กิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มนุษย์มีทางเลือกอยู่สองทางคือ น็อคคู่ต่อสู้ หรือ ถูกคู่ต่อสู้น็อค ทางรอดของ
มนุษย์ มีอยู่ทางเดียว คือทำ ใจให้เข้มเข็ง ขจัดความกลัวออกไป ขยันอดทน ฝึกหัดกายวาจาใจ ต่อสู้อย่างมี
สติปัญญา จึงจะสามารถชนะคู่ต่อสู้คือกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ได้ในที่สุด และจะเป็น ผู้ชนะอย่างแท้จริง


 สาระของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์
คริสตธรรมเป็นคำ สอนขององค์ศาสดาผู้อุทิศตนไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์ สอนให้มนุษย์ได้
ประจักษ์ว่าชีวิตได้มาจากพระเจ้า พระเจ้าสร้างมนุษย์ให้เป็นฉายาเงาของพระองค์ผู้มีความรักมนุษย์อย่าง
แท้จริง ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีความรัก ความภักดีต่อพระเจ้า และมีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ชาว
คริสต์ต้องดำ เนินชีวิตในกรอบของบัญญัติ 10 ประการ เพื่อเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าอันเป็นแดนที่มี
ความสุขสงบตลอดกาล
ศาสนาคริสต์ (Christianity) มีพระเยซูคริสต์เป็นศาสดา อุบัติขึ้นเมื่อ พ.. 543 เป็น
ศาสนาที่สืบต่อมาจากศาสนายูดายของชนชาติยิว พระเยซู คือผู้มาฟื้นศาสนาใหม่ตามคำ ทำ นายใน
ศาสนาเดิมว่าจะมีเมสสิอาห์ (Messiah) มาอุบัติขึ้นเพื่อนำชาวยิวไปสู่ความอยู่รอด ให้พ้นจากความทุกข์
ยากและเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้า
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาใหญ่ศาสนาหนึ่งมีคนนับถือมากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
ทวีปยุโรปและอเมริกา ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีคริสตศาสนิกชนในประเทศไทยมากเป็นลำ ดับที่ 3 รองลงมาจากพุทธศาสนิกชน
และอิสลามิกชนตามลำดับ
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้มนุษย์ปลูกฝังความรักความเมตตาในตน
โดยมีพระเยซู องค์ศาสดาทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวกันว่า คำ สั่งสอนของพระเยซู คือ
ปรัชญาแห่งความรัก คือเริ่มต้นจากการรักพระเจ้า รักครอบครัว รักเพื่อนบ้าน และรักมิตรสหายของตน
เหมือนกับตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ปรัชญาแห่งคำ สอนที่สำคัญของพระเยซูอีกประการหนึ่ง คือการให้อภัย
แม้ขณะที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ก็ทรงขอให้พระเจ้าทรงประทานอภัยให้แก่คน
บาปที่ได้ทำ ร้ายพระองค์”
มนุษย์คือผู้ที่พระเจ้าสร้าง
ในหลักคำ สอนของคริสตศาสนาได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ว่า ถ้าพระเจ้าทรงติดต่อกับ
มนุษย์ได้ มนุษย์ย่อมสามารถติดต่อกับพระเจ้าได้เช่นเดียวกัน การติดต่อนี้เป็นการติดต่อระหว่างผู้ที่ถูก
สร้างกับพระผู้สร้างมนุษย์เป็นผู้ถูกสร้างพิเศษเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น การที่มนุษย์สามารถติดต่อกับพระ
เจ้าได้นั้น ถือว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดของมนุษย์
ศาสนาคริสต์ ถือว่าสรรพสิ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของพระเจ้า มนุษย์เป็นปฏิมา
กรรมชิ้นเอกที่พระเจ้าทรงประทานบนโลก มนุษย์คู่แรกคือ อาดัม (Adam) และอีฟ (Eve) เป็นบรรพบุรุษ
คู่แรก ดังข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า “พระเจ้าตรัสว่า ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของ
เราให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไปและสัตว์ต่างๆ ที่
เลื้อยคลานบนแผ่นดิน พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของ
พระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง 




สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม เกิดขึ้นในทวีปเอเชียแถบตะวันออกกลาง ดินแดนแห่งชนชาวอาหรับ
เป็นศาสนาที่มีคนนับถือมาจำนวน 1 ใน 3 ของโลก อุบัติขึ้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อ พ.. 1113
โดยพระมุฮามัดเป็นศาสดาและได้แพร่หลายไปที่ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ยุโรป อเมริกา และในภูมิภาค
ต่าง ๆ ทั่วโลก
คำ ว่า “อิสลาม” มาจากศัพท์ภาษาอาหรับว่า อิสลามะ ซึ่งมาจากศัพท์เดียวกันกับคำ
ว่า มุสลิม มาจากคำ ว่า ซะลิมะหรือ ซะละมุน แปลว่า สันติการนอบน้อม การยอมจำนนโดยสิ้นเชิง
อิสลามจึงมีความหมายว่า การนอบน้อมมอบตนต่อพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ์ แต่พระองค์
เดียวอย่างสิ้นเชิงหรือความสันติ
มุสลิม เป็นคำ ที่ใช้เรียกผู้นับถือศาสนาอิสลาม หมายถึงผู้ที่นอบน้อมมอบตนต่อพระ
องค์ พระองค์ อัลลอฮ์แต่ผู้เดียวอย่างสิ้นเชิง เพื่อความสันติ (เสาวนีย์ จิตหมวด : 17)
คำ ว่า อัลเลาะฮ ก็ดี อัลลอฮ์ ก็ดี หมายถึงพระเจ้าสูงสุดในศาสนาอิสลามองค์เดียวกัน
เพียงแต่การเขียนเป็นไปตามสำ เนียงภาษาและรูปศัพท์เดิมเท่านั้น บุคคลภายนอกศาสนาอิสลามมักจะยึด
รูปศัพท์เดิมเป็น อัลลอฮ์ เช่นเดียวกับคำ ว่า มุฮัมมัด โมฮัมเหม็ด และมะหะหมัด เป็นคำ ที่ใช้ทั่วไป และ
หมายถึงพระศาสดาของศาสนาอิสลาม พระองค์เดียวกัน ซึ่งเดิมมีนามว่าอาบูคัสซิม
 ศาสนธรรมของศาสนาอิสลาม อยู่ในสายธารแห่งจริยธรรมระดับเดียวกับศาสนายิว
ศาสนาคริสต์ ดังนั้น จึงมีคำ สอนที่กลมกลืนกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
การดำ เนินชีวิตตามวิถีที่พระเจ้าทรงบัญญัติไว้ ชาวมุสลิมดำ เนินชีวิตตามหลักศรัทธา และหลักปฏิบัติ
เพื่อจะได้เข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้า จุดหมายสูงสุดแห่งความสุขสงบของชีวิต



สาระของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาเก่าแก่ของโลก คาดกันว่ามีอายุมากกว่า 4,000 ปี ต่อมา
ศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู กล่าวคือในยุคแรก ๆ แนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อเรื่อง
เทพเจ้าต่าง ๆ ได้มีอิทธิพลต่อชีวิตของชาวอินเดีย จนกระทั่งเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตล้วนมีเทพเจ้าเข้า
มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น และเทพเจ้าเหล่านั้นก็ถูกผูกขาด โดยชาวอารยันชั้นสูง ที่เรียกว่า วรรณะสูง ซึ่งได้แก่
กษัตริย์และพราหมณ์ กษัตริย์ทำ หน้าที่เป็นนักปกครอง พราหมณ์ทำ หน้าที่เป็นผู้รับทำ พิธีกรรม คือรับ
หน้าที่เป็นผู้สื่อสารกับเทพเจ้า ทั้งสองวรรณะนี้จัดว่าเป็นชนวรรณะสูง แพศย์เป็นชาวอารยันเช่นเดียวกับ
กษัตริย์และพราหมณ์ มีหน้าที่ในการประกอบธุรกิจค้าขาย หรือเป็นชาวนา ที่มีนาเป็นของตนเอง จัดว่า
เป็นชนวรรณะกลาง (ชนชั้นกลาง) และวรรณะสุดท้ายคือ ศูทร มีหน้าที่รับใช้คนชั้นสูง เป็นกรรมกร
แบกหามทำ งานหนัก จัดเป็นชนชั้นต่ำไม่สามารถที่จะร่วมคบหาสมาคม กินอยู่หลับนอน และร่วมกิจ
กรรมต่าง ๆ อย่างเสมอภาคกับชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อห้ามทางศาสนาคือ
คัมภีรพ์ ระเวท ซึ่งชาวอารยันเป็นผู้สร้างขึ้นมา ศูทรเป็นชาวอินเดียพื้นเมือง ซึ่งอาศัยอยู่ในชมพูทวีปมาก่อน
ก่อนที่ชาวอารยันอพยพเข้ามาจึงเป็นอันว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาของชาวอารยัน
และเหตุผลที่เรียกว่าศาสนาพราหมณ์เพราะพราหมณ์ผู้ซึ้่งมีหน้าที่ทำพิธีกรรมนั้นได้มีบทบาทในสังคมสูงมาก
เมื่อศาสนาเช่นและศาสนาพุทธได้อุบัติขึ้นในอินเดีย แนวคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนา
พราหมณ์ดังกล่าว ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปและได้กลายมาเป็นศาสนาฮินดู คือศาสนาของคนที่อาศัยอยู่ใน
ลุ่มแม่น้ำสินธุ ได้เกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งก็พัฒนามาจากคัมภีร์พระเวทนั่นเอง โดยมีการปรับเปลี่ยนเทพ

เจ้าสูงสุดจากพระอินทร์และเทพเจ้าองค์อื่นๆ แต่หากเป็นแนวคิดแบบปรัชญาชั้นสูง โดยมีสาระสำ คัญว่า
ชีวิตของมนุษย์ (รวมทั้งสัตว์ด้วย) มาจากพระพรหม และจะกลับเข้าไปอยู่กับพระพรหมอีก แต่การที่จะ
กลับเข้าไปอยู่กับพระพรหมได้นั้น ชีวิตนั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้โดยการประพฤติ
ปฏิบัติตามหลักการที่กำหนดไว้ในศาสนา ซึ่งมีรายละเอียดมากมายและมนุษย์แต่ละคน ซึ่งมีชีวิตอยู่ใน
ขณะนี้เป็นชิ้นส่วนของพระพรหม พราหมณ์เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม แพศย์เกิดจากส่วนท้องของ
พระพรหม และศูทรเกิดจากเท้าของพระพรหม ทุกวรรณะที่มีชีวิตอยู่ในขณะนี้เกิดจากพระพรหมเมื่อ
เกิดมาแล้ว และต้องทำ หน้าที่ตามวรรณะของตน เมื่อมีความบริสุทธิ์เพราะการปฏิบัติหน้าที่ และการทำ
ความดีอย่างอื่น ควบคูกั่นไปจนเกิดความบริสุทธิ์ ทั้งทางกายและใจแล้วก็จะกลับไปอยู่ในร่างของพรหม เป็น
ชีวิตอมตะ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฎสสารต่อไปอีก
ศาสนาพราหมณ์ แม้จะได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาของ
คนทั่วไป แต่หลักความเชื่อและการปฏิบัติก็ยังยึดหลักการเดิมในคัมภีร์พระเวท เพียงแต่ได้มีการเพิ่มเติม
โดยแยกแยะเป็นลัทธิต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ยังพัวพันอยู่กับคัมภีร์พระเวทอยู่นั่นเอง เพียงแต่เป็นการ
อธิบายและเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมของเหล่าเกจิอาจารย์เจ้าลัทธิต่าง ๆ ขึ้นมาภายหลัง ดังนั้น จึงเรียก
รวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
หลักการดำ เนินชีวิตตามแนวคิดศาสนาพราหมณ์- ฮินดู
แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเทพเจ้า มีการอธิบายลักษณะของพระพรหมเพิ่มจากเดิมให้มีความชัดเจนยิ่ง
ขึ้นว่า พระเจ้าแท้จริงมีพระพรหมเพียงองค์เดียว พรหมเป็นสิ่งที่อยู่เที่ยงแท้ ไม่อาจมองเห็นด้วยตาโลก
และสรรพสิ่งในโลก มิใช่ของจริงล้วนเป็นมายา เทพเจ้าทั้งหลายเป็นเพียงส่วนย่อยของพรหมที่มา
ปรากฏเพียงชั่วคราวเท่านั้น
2. เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด มีคำ อธิบายว่า การที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน
สภาพต่างๆนั้น เป็นเพราะผลของกรรม (กรรมเก่า) พระพรหมเป็นศูนย์รวมและเป็นต้นกำ เนิดแห่ง
วิญญาณทั้งปวง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดถือกำเนิดมาจากพรหม วิญญาณทุกดวงที่แยกออกไปจากพรหม อาจเข้าสิงสถิตในร่างต่าง ๆ เช่น เทวดา มนุษย์ สัตว์ หรือพืช ก็ได้ทุกครั้งที่ร่างเดิมแตกดับวิญญาณก็จะเข้า
ไปอาศัยร่างใหม่ เรียกว่า “ภพ” หรือ “ชาติ” หนึ่ง ตราบเท่าที่วิญญาณต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะเกิด
เป็นอะไร ต้องประสบกับความทุกข์เรื่อยไป จนกว่าวิญญาณนั้นจะหลุดพ้นจากภาวะแห่งการเวียนว่าย
ตายเกิด คือการบรรลุโมกษะวิญญาณนั้นก็จะกลับไปอยู่กับพรหมดังเดิม
3. เรื่องวิธีการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อธิบายว่าผู้ใดยุติการกระทำผู้นั้นย่อมหลุดพ้น จากการเกิด
4. เรื่องวันสิ้นโลก อธิบายว่า โลกที่พรหมสร้างขึ้นมีอายุขัย เมื่อครบกำหนดอายุขัย จะมีการ
สร้างโลกขึ้นใหม่ ระยะเวลาตั้งแต่การสร้างโลกจนถึงการล้างโลกเรียกว่า “กัลป์” หนึ่ง แบ่งเป็น 4 ยุค
กฤตยุค เตรตายุค ทวาปยุค และกลียุค ทั้ง 4 ยุค รวมกันเรียกว่า “มหายุค” แต่ละยุคเวลาจะสั้นลงตาม
ลำ ดับเช่นกัน
5. เรื่องการศึกษา มีการกำหนดการศึกษาภาคบังคับ กล่าวคือประชาชนที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์
กษัตริย์ และแพทย์จะต้องส่งบุตรหลานของตนเข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งของวรรณะ
พราหมณ์ ก่อนรับเข้าศึกษานักบวชพราหมณ์จะประกอบพิธีเสกเป่ามนตราและคล้องด้ายมงคลที่ถือว่า
ศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า “สายธุรำ  เฉวียงบ่าแก่เด็ก พิธีนี้เรียกว่า “ยัชโญปวีต” ผู้ผ่านพิธีนี้แล้วถือว่าเป็นผู้เกิด
ใหม่เรียกว่า “ทวิช” แปลว่า ผู้เกิดสองครั้ง


สาระของชีวิตตามแนวลัทธิอื่นๆ
ลัทธิเต๋า
เจ้าลัทธิเต๋า คือ เล่าจื้อ มีชีวิตอยู่ระหว่าง 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล คำ ว่า  เต๋า  แปลว่า หน
ทางหรือวิถี กล่าวคือ มรรคที่จะทำ ชีวิตเข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริงของชีวิต คัมภีร์เต๋าเรียกว่า เต๋าเต็กเก็ง
แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแรก เรียกว่า เต๋าเก๋ง ภาค 2 เรียกว่า เต็กเก็ง
กำเนิดสรรพสิ่งตามทัศนะของเต๋า
ทัศนะเกี่ยวกับกำเนิดของสรรพสิ่งตามลัทธิเต๋า หรือวิถีแห่งเต๋า ได้แก่เรื่อง หยางและหยิน ที่เป็น
ปรัชญาพื้นฐานของจีนโบราณ โดยถือว่า สรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิต ไม่มีชีวิต อากาศธาตุ หรือแม้แต่จักรวาล
ล้วนกำเนิดมาจากส่วนประกอบของหยางและหยิน เมื่อหยางและหยินมีความสมดุลกัน ทุกสิ่งทุกอย่าง
ก็เกิดจะมีสันติสุข แต่เมื่อหยางและหยินไม่สมบูรณ์กัน ทุกสิ่งก็แปรเปลี่ยนถ้าเป็นชีวิต ก็ถึงกาลแตก
สลาย แม้แต่โลกธาตุก็แตกดับได้ ดังบทคำ สอนดังนี้
 เต๋าให้กำเนิดแก่หนึ่ง
จากหนึ่งเป็นสอง
จากสองเป็นสาม
จากสามเป็นสรรพสิ่งในจักรวาล
จักรวาลที่ถูกสร้างสรรค์
ประกอบด้วยหยางอยู่หน้า
หยินอยู่ด้านหลัง
สิ่งหนึ่งขาวสิ่งหนึ่งดำ
สิ่งหนึ่งบวกสิ่งหนึ่งลบ
ทั้งสองสิ่งผสมผสานกัน
จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว 

ชีวิตของมนุษย์เป็นไปตามอำนาจเต๋า
เต๋าเป็นต้นกำเนิด และเป็นสิ่งที่ควบคุมชีวิตมนุษย์ ดังนั้น การเรียนรู้และเข้าใจ “เต๋า” จึงเป็น
การเรียนรู้ที่ประเสริฐสุดของชีวิต มนุษย์มิได้มีอิสระในตัวเอง แต่ต้องตกอยู่ภายใต้กฎของเต๋าอันเป็น
ธรรมชาติ บรรดาสิ่งสูงสุดมี 4 อย่าง คือ เต๋า ฟ้า ดิน มนุษย์ สังคมจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมนุษย์มีความรู้
แจ้งเต๋า และปฏิบัติตามเต๋ามากน้อยเพียงใด เต๋ามีลักษณะแห่งความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะความอ่อน
น้อมถ่อมตน และความอ่อนโยนย่อมชนะความแข็งกระด้าง
เป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามแนวทางศาสนาเต๋า ก็คือ การบรรลุเต๋า เพราะเต๋าเป็นคลังเก็บรวบ
รวมสรรพสิ่ง เป็นมณีของสาธุชนและเป็นที่คุ้มครอง รักษาทุรชนด้วย
การดำ เนินชีวิตตามวิถีเต๋า
จริยธรรมอันเป็นคำ สอนของเล่าจื้อ แสดงความสูงศักดิ์ของอำนาจสูงสุด คือ เต๋าเล่าจื้อ สอนให้
มนุษย์มีความสงบ มีความเป็นธรรม มีวิถีชีวิตที่ผสมกลมกลืนและเข้ากันได้กับธรรมชาติที่เป็นไปทุกวิถี
ทาง
ลัทธิขงจื๊อ
เจ้าลัทธิขงจื๊อ คือขงจื๊อ มีชีวิตอยู่ระหว่าง 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล ขงจื๊อสอนว่ามนุษย์เกิดมา
จากธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์คือ ซิง (Sing) มนุษย์เกิดมาพร้อมความดี อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะมี
ธรรมชาติดี แต่ก็มีข้อแตกต่างกันออกไป โดยธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์เหมือนกัน แต่วิธีการปฏิบัติ
ทำ ให้มนุษย์มีความหลากหลายและแตกต่างกัน
ขงจื้อ มีทัศนะว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม คนจะอยู่คนเดียวไม่ได้ คนต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จุดเริ่มต้นของคนคือครอบครัว ความสัมพันธ์ของสังคม มี 5 ระดับ คือ
1. บิดามารดากับบุตรธิดา
2. สามีกับภริยา
3. พี่กับน้อง
4. กษัตริย์ ขุนนางกับปวงประชา
5. คนกับมิตรสหาย
ทุกระดับจะต้องมีจริยธรรมต่อกัน และกัน กล่าวคือ ความกตัญญูกตเวที ความรัก ความ
ซื่อตรง ความสมานสามัคคี ความจงรักภักดี ความช่วยเหลือจุนเจือ และเมตตากรุณา ทุกคนต้องทำ หน้า
ที่ของตนให้สมบูรณ์ที่สุด ที่เรียกว่า เจี้ยเมี้ย เช่น พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูบุตรธิดา ให้การศึกษา แนะนำ พรํ่าสอน
บุตรธิดาต้องเคารพตอบแทนพระคุณของบิดามารดา กษัตริย์ต้องทำ หน้าที่ปกครอง บำรุงสุข บรรเทา
ทุกข์ปกปักรักษาอาณาเขตแก่ปวงประชา ปวงประชาจะต้องจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ปฏิบัติตนให้อยู่ใน
ขอบเขตกฎหมายของบ้านเมือง เป็นต้น

นอกจากนี้ ลัทธิขงจื้อเห็นว่า การศึกษาสำ คัญมากที่สุด ทุกคนต้องได้รับการศึกษาอบรมท่าน
กล่าวไว้ว่า
เกิดมาแล้วรู้ตัวเป็นดีที่สุด
ศึกษาแล้วรู้เป็นรองลงมา
ยากจนต้องศึกษา
ยากจนไม่ศึกษา คนชนิดนี้เลวมา